ก่อนอื่น เรามาต้อง มาดู นิยาม ของคำ ว่าโรงงาน ก่อน ว่าการก่อสร้าง ประเภทใด ที่ เข้าข่าย ว่า เป็น โรงงาน
โรงงาน หมายความว่า ` อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้ เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือ กำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม สำหรับทำ ผลิตประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ ทั้งนี้ ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง´
หาก เป็นส่วน ของ โกดังเป็นของ หรือ เต็นท์ใหญ่ สำหรับ เก็บวัตถุดิบ ไม่ต้องขอ อนุญาตสร้างโรงงาน
พระราชบัญญัติ โรงงาน พศ 2535 กำหนด แบ่งโรงงาน เป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 มี แรงม้ารวมของ เครื่องจักร 5-20 แรงม้า และ หรือ มีจำนวน คนงาน 7-20 คน และต้องไม่มี มลพิษ ประกอบกิจการได้เลย
ประเภทที่ 2 มี แรงม้ารวมของ เครื่องจักร มากกว่า 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า และ หรือ มีจำนวน คนงาน 21-50 คน และต้องไม่มี มลพิษ ไม่ต้องขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน แต่ต้องแจ้งประกอบกิจการ
ประเภทที่ 3 มี แรงม้ารวมของ เครื่องจักร มากกว่า 50 แรงม้า และ หรือ มีจำนวน คนงานมากกว่า 50 คน ต้องขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน แต่ต้องแจ้งประกอบกิจการ
กรณี ทำเล ที่ตั้ง ประกอบกิจการ โรงงาน
ทำเลที่ตั้งประกอบกิจการโรงงาน สามารถแบ่ง ได้ดังนี้
1. พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม
2. พื้นที่ในเขตประกอบการอุตสาหกรรม
3. พื้นที่ในชุมชนอุตสาหกรรม
4. พื้นที่เอกเทศ
โดย แต่ละ พื้นที่ มีการ จัดการ ไม่เหมือนกัน
ขั้นตอนการขออนุญาตของโรงงานที่จะตั้งขึ้นใหม่
ในกรณีที่โรงงานประกอบกิจการในพื้นที่ของเขตประกอบการอุตสาหกรรมผู้ประกอบการไม่ต้องยื่นคําขอใดๆ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการรายปีตามอัตราค่าธรรมเนียมในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ดังแสดงในตารางหน้า 19-20
ขั้นตอนการขออนุญาตของโรงงานที่จะตั้งขึ้นใหม่
ในกรณีที่โรงงานประกอบกิจการ ในพื้นที่ของชุมชนอุตสาหกรรม หรือ พื้นที่เอกเทศมีขั้นตอนในการขออนุญาตฯ ดังแสดงในหน้าถัดไป (ในกรณีที่โรงงานประกอบกิจการในพื้นที่ของชุมชนอุตสาหกรรมจะไม่มีการพิจารณาในเรื่องทําเลที่ตั้งประกอบกิจการโรงงาน